บทที่ 7
การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN) และ ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless WAN)
วัตถุประสงค์หลัก | |
– การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องรู้จักกัน |
|
– การถ่ายโอนข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายระยะใกล้ |
7.1 ระบบเครือข่าย (Network)
ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงซึกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ อาจเป็นข้อความ กราฟิก เสียง หรือข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลวิธีนี้เรียกว่า โทรคมนาคม (Telecommunication) หรือ การส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่ายจะมีหลายชื่อเรียก เช่น Networked , Linked up หรือ online บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า เน็ต (Net)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแยกได้สองประเภท คือ เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network) หรือแลน (LAN) คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอยู่ใกล้กันและเครือข่ายระยะไกลหรือบางครั้งเรียกว่า (Wide Area Network) หรือเรียกว่าย่อว่า (WAN) ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ห่างกันอาจเป็นหลายร้อยหรือหลายพันกิโลเมตร โดยการเชื่อมโยงสัญญาณเพื่อการสื่อสารกันสามารถใช้คู่สายโทรศัพท์ที่เช่าเป็นประจำ และสัญญาณไมโครเวฟใช้ช่องสัญญาณของดาวเทียมปกติโดยให้คอมพิวเตอร์ที่เป็นคู่สายติดต่อกันเอง เมื่อมีข่าวสารหรือข้อความต้องการจะส่งก็ได้
7.1.1 ประเภทของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) เป็นระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่จำกัด เชื่อมโยงกันในรัศมีระยะใกล้ๆ ในเขตพื้นที่เดียวกัน เช่น เครือข่ายในห้องคอมพิวเตอร์ เครือข่ายภายในโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เครือข่ายภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
ระบบเครือข่ายระยะกลาง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นระบบเครือข่ายระดับเมือง ครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า LAN เช่น เครือข่ายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ห่างไกล เข้าด้วยกัน เป็นการสื่อสารระดับประเทศ หรือข้ามทวีปก็ได้ เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
เปรียบเทียบขนาดของ LAN ,MAN ,WAN
7.1.1 ความหมายและการทำงานบนเครือข่ายระยะใกล้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network)พัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อกับเทอร์มินอล (Terminal) เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfarm Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆ จะถูกควบคุมและการดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงต่อระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล
ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูลและแสดงผลข้อมูลเท่านั้น ดังโครงสร้างการเชื่อมต่อที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล
สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ในปัจจุบันเรียกเทอร์มินอลที่มีความสามารถเหล่านี้ว่าโหนด (Node) ลักษณะการกระจาย การทำงาน การควบคุมไปยังโหนดของเครือข่ายนี้เป็นลักษณะการทำงานแบบการกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นการกระจายภาระ และหน้าที่การทำงานไปยังโหนดบนเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงานของโฮสต์ลงได้มาก
Source: http://www.it-guides.com/index.php/training-a-tutorial/network-system/82-transfer-data-from-2-computers
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย ประกอบด้วย Ethernet/Fast Ethernet/Gigabit Ethernet LAN , Wireless LAN
Ethernet การเชื่อมต่อที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ LAN ในปัจจุบัน โดยมีอัตรารับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 10Gbps โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือ สาย Fiber optic ซึ่งมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ethernetดังต่อไปนี้
ชนิด |
ระยะทางสูงสุด |
ชนิดของสาย |
ความเร็ว |
10BaseT |
100 m |
UTP |
10 Mbps |
100BaseTX |
100 m |
UTP |
100 Mbps |
100BaseFX |
400 m (half duplex) |
Fiber Optic |
100 Mbps |
1000BaseSX |
220 m |
Fiber Optic (MMF) |
1000 Mbps |
1000BaseLX |
3-10 Km |
Fiber Optic (SMF) |
1000 Mbps |
Wireless LAN รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้คลื่นความถี่ที่จัดไว้สำหรับระบบอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์ (ISM band)