8.5 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Search)
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search
Engine)
ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
โดยทั่วไป Search Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com
www.sanook.com, www.siamguru.com เป็นต้น
ตัวอย่าง การค้นแบบนามานุกรม ของ www.sanook.com
รายการกลุ่มเรื่องแบ่งออกเป็น
หมวดหมู่ใหญ่ 14 หมวดหมู่
เช่น กีฬา ท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ
การแบ่งกลุ่มเรื่องย่อยๆ
ของแต่ละกลุ่มและแบ่งย่อย
ลงเรื่อยๆจนกระทั่งระบุ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)
เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ
ลงในช่องสืบค้น
3. การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
Search Engine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆ ในการสืบค้นเพื่อช่วยผู้ใช้ และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือ
About เช่น
Yahoo มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ โดย
หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น
คำทั้งสองคำ เช่น Secondary + education
1.3 ใช้เครื่องหมาย “ ” สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น “great barrier reaf”
ฯลฯ
เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ AND OR NOT เข้าช่วยในการ
กำหนดคำค้น เพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
การกำหนดใช้ AND จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยว
ข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soil
การกำหนดแบบนี้หมายความว่า
2.2 การใช้คำว่า OR
การใช้ OR เป็นการขยายคำค้น โดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกัน
หรือสามารถสะกดได้หลายแบบ
2.3 การใช้ NOT
การใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามา คือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหา
ส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่ โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่น water not soil
การกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ค้นหานั้น เพื่อให้ขอบข่ายของการค้นหาแคบเข้า สามารถ ค้นหาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะต้องใช้เทคนิคในการค้นหาดังนี้
ตารางที่ 12.1 เทคนิคการค้นหา
บีบประเด็นให้แคบลง |
หัวข้อเรื่องที่ต้องการค้นหาต้องพยายามบีบประเด็นให้แคบลง เช่น หากต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะหาโดยใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ หรือ Computer นี้ค้นหา เพื่อลองดูเนื้อหากว้างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่ามีเรื่องใดบ้าง จากนั้นก็บีบหัวข้อเรื่องลง โดยอาจจะเลือกจากหัวข้อที่เว็บไซต์นั้นจัดทำ หรืออาจจะพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาอีกครั้ง |
การใช้คำที่ใกล้เคียง |
ควรค้นหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่กำลังค้นหาด้วย เช่น หากต้องการค้นเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Computer คำที่เกี่ยวข้องที่สามารถใช้ค้นหาได้ คือ technology, IT เป็นต้น |
การใช้คำหลัก (Keyword) |
คำหลัก (Keyword) หมายถึง คำหรือข้อความที่เราจะนึกถึงเว็บไซต์นั้นเมื่อเอ่ยถึง เช่น สสวท. เรามักจะนึกถึงเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://www.ipst.ac.th หรือ |
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข |
พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98" |
ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย |
ใช้เครื่องหมาย + และ - เพื่อช่วยในการค้นหา โดย + เพื่อใช้กับคำที่คุณต้องการใช้ในการค้นหา และ - เพื่อใช้กับคำที่ไม่ต้องการใช้ในการค้นหา เครื่องหมายลบ "-" หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องไม่ปรากฎคำนั้น อยู่ในหน้าเว็บเพจ เช่น |
หลีกเลี่ยงภาษาพูด |
หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ |
Advanced Search |
อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้ได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของมากขึ้น |
ในการค้นหาข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ ในที่นี้ขอยก ตัวอย่าง Search Engine เว็บไซต์ที่น่าสนใจต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบการสืบค้นทั้งแบบนามานุกรมและแบบดรรชนีสืบค้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
2. พิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ค้นหา ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด (ในแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย) คือ
4. คลิกที่ชื่อเรื่อง เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลตามต้องการ
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือช่วยค้นเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ นามานุกรม และแบบดรรชนี ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ระดับแนวหน้าของไทยและต่างประเทศ
Yahoo http://www.yahoo.com
Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮู) เป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรอินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทำได้อย่างรวดเร็ว จุดหนึ่งที่ทำให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการแบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ
AltaVista
http://www.altavist.com
AltaVista เป็น Search Engine ที่มี
คุณสมบัติการค้นหาด้วยความเร็วปาน
สายฟ้าแลบและตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้อย่างมาก สามารถสั่งให้ค้นหา
แบบคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดได้อย่างชัดเจน
อีกทั้งในการใช้ตรรกบูลีน
(OR, AND, NOT) จะดีมาก
Go
http://www. go.com
เป็น Search Engine ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และยังรวมถึงฐานข้อมูลของรายชื่ออีเมล์และนิวส์กรุ๊ปได้ เป็น Search Engine ที่เป็นแบบ นามานุกรมที่มีความเร็วในการค้นหา อีกทั้งหน้าตาเว็บยังสวยงาม และมีลูกเล่นด้วย
Shareware
http://www.shareware.com
เป็น Search Engine เฉพาะด้านซึ่งจะเก็บ
รวบรวมรายชื่อโปรแกรมทั้งฟรีแวร์ (Freeware)
(โปรแกรมแจกฟรี) แชร์แวร์ (Shareware)
(โปรแกรมใช่ก่อน ถูกใจจ่ายเงินทีหลัง) และ
โปรแกรมอัพเกรดต่าง ๆ มาทำเป็นฐานข้อมูลไว้
ดังนั้นถ้าคุณต้องการหาโปรแกรมแชร์แวร์มาใช้
สามารถใช้เว็บไซต์นี้ค้นหาตำแหน่งได้อย่างดีเยี่ยม
Siamguru
http://www.siamguru.com
Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหา
เว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหา
ข้อมูลโดยเน้นเรื่องความสามารถ
ในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบน
อินเทอร์เน็ต มีความสามารถเทียบ
เท่า search engineชื่อดังจากต่างประเทศ
Sanook
http://www.sanook.com
เป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหา
ข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ค้นหามากมายทั้ง
ของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรม
และคำค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และ
มีคำอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถ
ส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย
Thaiseek
http://www.thaiseek.com
เป็นเว็บไซต์ Search Engine ที่มีคุณสมบัติของการค้นหาได้อย่างยอดเยี่ยมเว็บหนึ่งของไทย ซึ่งสามารถค้นหาได้แบบนามานุกรม และคำสืบค้น ซึ่งผลการสืบค้นค่อนข้างชัดเจนตรงกับความต้องการ
Thaifind
http://www.thaifind.com
เป็นเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูล
ที่ดีอีกเว็บหนึ่งของเมืองไทย โดยมี
การจัดจัดอันดับคำสำคัญในการค้นหา
ไว้อย่างเป็นระเบียบ และผลการค้น
เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
Google
www.google.com
Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก
(รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ