7.3 ระบบ Wireless Lan คืออะไร
ระบบ Wireless Lan คือระบบ Lan ที่ใช้คลื่นความถี่ในการรับส่งข้อมูล เครื่อข่าย Wireless Lan ให้ความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากเป็นระบบที่ใช้คลื่นวิทยุ การรับส่งข้อมูลข่าวสารจะส่งผ่านทางอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสาย Lan โดยการทำงานของระบบ Wireless Lan จะมีลักษณะการทำงานเหมือน Lan ทุกอย่างเพียงแต่ไม่ต้องเดินสาย Lan เท่านั้น โดนในระบบ Wireless Lan จะมีตัว Access Point ในการรับและส่งข้อมูลโดยตัว Access Point จะเปรียบเสมือนกับเป็น HUB เท่านั้น และในระบบ Wireless Lan จะต้องมี Card Wireless Lan ที่ใช้สำหรับในการรับส่งข้อมูลกับ Access Point โดย Card Wireless Lan เปรียบเสมือนกับเป็น Card Lan ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐาน IEEE 802.11 มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer
เทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบไร้สาย หรือ WLAN (Wireless LAN) กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากความสะดวกสบายและอิสระในการใช้งาน เทคโนโลยี WLAN ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายไม่จำเป็นจะต้องใช้สายนำสัญญาณให้ยุ่งยากและดูเกะกะอีกต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและพกพาสามารถเชื่อมต่อถึงกันหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจากตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณได้ ซึ่งประโยชน์ของ WLAN คือ
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สภาพปัจจุบันผู้ใช้งานมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เรียกว่าโน้ตบุ๊คกันเป็นส่วนใหญ่ โน้ตบุ๊คมีขนาดเล็กลงจนสามารถนำติดตัวไปใช้ที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การนำโน้ตบุ๊คต่อกับสายแลนจึงไม่สะดวก อีกทั้งสภาพการทำงานเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกยึดติดอยู่กับที่ เช่น การนำโน้ตบุ๊คเข้าห้องประชุม การปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มย่อย แลนที่ใช้ถ้าเป็นระบบสายจะยุ่งยากในการปรับเปลี่ยน แต่สำหรับแลนไร้สายจะประกอบด้วย การ์ดไคลแอนต์ ซึ่งเป็นแผงวงจรขนาดเล็ก ที่ต่อเข้ากับโน้ตบุ๊คเท่านั้น และส่วนที่เป็นแอกเซสพอยต์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่นำไปวางไว้ที่ใดก็ได้ หรือจะติดยึดกับฝาผนัง ฝ้า เพดาน หรือจะเคลื่อนย้ายไปที่ใดก็ได้ โดยด้านหนึ่งรับสัญญาณวิทยุ อีกด้านหนึ่งเป็นสายต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่าย การติดตั้งแลนไร้สายจึงทำได้ง่ายกว่ามาก การนำติดตัว (Mobility) การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจงอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผู้ใช้มีเพียงนำโน้ตบุ๊คติดตัวไปด้วยก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ การขยายเครือข่าย เครือข่ายแบบแลนไร้สาย ทำให้เครือข่ายองค์กรปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่าย ไม่ยุ่งยากในเรื่องการเดินสายสื่อสาร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนา เครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุมพื้นที่เป็นเซลเล็ก ๆ โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาคารได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุด ทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้ง เทคโนโลยี WLAN อยู่ภายใต้มาตรฐานที่ชื่อว่า IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) ซึ่งในประเทศไทยนั้นใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz เนื่องจาก ความถี่ 5 GHz ได้ถูกนำไปใช้ในกิจการอื่นก่อนแล้ว
7.3.1 การเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี WLANมีสองประเภทหลักคือ
1. การเชื่อมต่อแบบแอดฮอค (Ad-Hoc) การติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอค คือการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค พีดีเอ ตั้งแต่สองเครื่องเป็นต้นไปโดยไม่ต้องใช้ Access point การติดต่อสื่อสารแบบแอดฮอคทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง เช่นสามารถรับส่งไฟล์ แชท วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ หรือเล่นเกมส์ในวงแลนได้
2. การเชื่อมต่อแบบเป็นโครงสร้าง (Infrastructure) คือการติดต่อสื่อสารโดยมีสถานีฐาน (Access point) เป็นศูนย์กลาง ทุกสถานีที่ใช้งานจะต้องอยู่ภายในรัศมีการใช้งานของ Access point ประมาณ 50 เมตรในบริเวณเปิด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยผ่าน Access point และสามารถติดต่อกับภายนอกวงแลนได้โดยผ่าน Access point ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ Hub ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบใช้สาย เครือข่ายแบบ Infrastructure สามารถมาแทนที่เครือข่ายแบบใช้สายเดิมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นเพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายของแต่ละเครื่อง (ยกเว้น Access point) สะดวกในการปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย หรือขยายขนาดของเครือข่าย ปัจจุบัน ตามบริษัท สำนักงาน สถานศึกษา และองค์กรต่างเริ่มนำเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาใช้มากขึ้น อนาคตของระบบเครือข่ายไร้สาย ที่คาดว่าจะบูมขึ้นเรื่อย ๆ นั้น เป็นไปได้อย่างแน่นอน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ประการที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ความสะดวกสบายที่ได้รับ และมาตรฐานใหม่ ๆ ที่กำลังจะออกมา ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อไกลขึ้น และความเร็วสูงขึ้น โดยที่ราคาอุปกรณ์จะยิ่งมีราคาถูกลงเรื่อยๆ
7.3.2 ส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE
................................. . 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น) สำหรับในส่วนของ MAC Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้มีกลไกการทำงานที่เรียกว่า CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับหลักการ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครือข่าย LAN แบบใช้สายนำสัญญาณ นอกจากนี้ในมาตรฐาน IEEE802.11 ยังกำหนดให้มีทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN โดยกลไกการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และการตรวจสอบผู้ใช้ (Authentication) ที่มีชื่อเรียกว่า WEP (Wired Equivalent Privacy) ด้วย วิวัฒนาการของมาตรฐาน IEEE 802.11มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งอุปกรณ์ตามมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1 และ 2 Mbps ด้วยสื่อ อินฟราเรด (Infarred) หรือคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และมีกลไก WEP ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย WLAN ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมาตรฐาน IEEE 802.11 เวอร์ชันแรกเริ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำและไม่มีการรองรับหลักการ Quality of Service (QoS) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งกลไกรักษาความปลอดภัยที่ใช้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Group) ขึ้นมาหลายชุดด้วยกันเพื่อทำการปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรฐานให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE