Hardware

3.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

        หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล เช่น Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 3 แบบ ได้แก่ Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2) และ แบบ USB

 

        Keyboard เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 

 

        เว็บแคม (Web Camera) ชื่อเรียกเต็มๆว่า Web Camera (เว็บแคเมรา) แต่ในบางครั้งก็มีคนเรียกว่า Video Camera หรือ Video Conference เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

        ไมโครโฟน (Microphone) คือ อุปกรณ์รับเสียงแล้วทำการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ ไมโครโฟนจะประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟนจะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง

        เครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Bar Code Reader)หรือ ตัวอ่าน barcode มีการเรียกว่า Price scanner หรือ point-of-sale (POS) scanner เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลแบบพกพาได้และติดตายใช้ในการจับและอ่านสารสนเทศที่ เก็บใน barcode ตัวอ่าน barcode ประกอบด้วยตัวสแกน ตัวถอดรหัส (มีทั้งติดอยู่ในตัวหรือภายนอก) และสายเคเบิลที่เชื่อมตัวอ่านกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากตัวอ่าน barcode จับและแปล barcode เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ข้อมูลต้องได้รับการส่งไปยังคอมพิวเตอร์ ดังนั้นซอฟต์แวร์สามารถทำข้อมูลเข้าใจได้ ตัวสแกน barcode สามารถได้รับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตพิเศษ พอร์ตแป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์อินเตอร์เฟซที่เรียกว่า wedge ตัวอ่าน barcode ทำงานโดยลำแสงตรงตัด barcode และวัดจำนวนรวมของแสงที่สะท้อนกลับ (แท่งสีดำสะท้อนแสงน้อยกว่าช่องว่างระหว่างแท่ง) ตัวสแกนแปลงกลับพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแปลงไปเป็นข้อมูลโดยตัวถอดรหัสและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ ตัวอ่าน barcode มี 5 ประเภทพื้นฐาน คือ pen wands, slot scanners, Charge-Couple Device (CCD) scanners, image scanners และ laser scanners
• pen wand เป็นตัวอ่าน barcode อย่างง่าย โดยเป็นชิ้นย้ายไม่เคลื่อนย้ายและรู้กันว่ามีความคงทนและราคาต่ำ pen wand สามารถท้าทายผู้ใช้ เพราะต้องมีติดต่อโดยตรงกับ barcode ต้องมีองศาถูกต้อง และต้องเคลื่อนที่ bar code ด้วยความเร็วคงที่
 slot scanner เป็นแบบติดตั้งตายตัวและ barcode ต้องผลักด้วยมือผ่านสล๊อต โดยปกติ slot scanner ใช้สแกน barcode บนบัตรประจำตัว
• CCD scanner มีช่วงการอ่านดีกว่า pen wand และมักจะใช้ในร้านค้าย่อย ตามปกติ CCD scanner มีการอินเตอร์เฟซเป็น “ปืน” และต้องจับห่างไม่เกิน 1 นิ้วจาก barcode การสแกน barcode แต่ละครั้ง เกิดการอ่านหลายครั้งเพื่อลดความผิดพลาด ข้อเสียเรียบของ CCD scanner คือไม่สามารถอ่าน barcode กว้างกว่าผิวหน้านำเข้าได้
• image scanner หรือเรียกว่า camera reader ใช้กล้องวิดีโอขนาดเล็กในการจับภาพของ barcode และใช้เทคนิคประมวลผลภาพดิจิตอลทันสมัยในการถอดรหัส barcode การอ่าน barcode สามารถอ่านได้ห่าง 3 – 9 นิ้วและโดยทั่วไปราคาถูกกว่า laser scanner
• laser scanner มีทั้งแบบพกพาได้และติดตายตัว การอ่านไม่ต้องใกล้กับ barcode การทำงานใช้ระบบกระจกและเลนส์ในการสแกนเพื่ออ่าน barcode และสามารถอ่านได้ห่างถึง 24 นิ้ว เพื่อลดความผิดพลาด laser scanner อาจจะทำการสแกน 500 ครั้งต่อ 1 วินาที laser scanner ช่วงไกลพิเศษมีความสามารถในการอ่าน barcode ได้ไกลถึง 30 ฟุต

        ก้านควบคุม (joystick) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้ารูปแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นคันโยกบนฐาน ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้ หรือ pointer บนจอภาพโปรแกรมบางประเภท การใช้แป้นพิมพ์หรือ เมาส์ อาจไม่เหมาะสม เช่นโปรแกรมประเภทเกมด้วยแหตุนี้นี้เอง จึงได้มีการผลิตก้านควบคุม หรือ joystick ขึ้น ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และทำให้การเล่นเกมสมจริงมากขึ้น ถ้าคุณกำลังเล่นเกมขับเครื่องบิน ถ้าคุณต้องการให้เครื่องบินไปทางซ้ายคุณก็โยกคันบังคับไปทางซ้ายตลอดเวลาที่ผ่านมา เกมคอนโทรลเลอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มแรก เป็นเพียงกล่องเล็ก มีปุ่มบังคับไม่กี่ปุ่ม จนในปัจจุบันมีการพัฒนาเกมคอนโทรลเลอร์ที่เฉพาะเจาะจงกับเกมบางประเภทมากขึ้น เช่น พวงมาลัยขับรถสำหรับเกมขับรถ เป็นต้น ก้านควบคุมบางอันอาจมีปุ่มเพิ่มเติมเพื่อใช้สั่งงานอื่นๆ

        จอสัมผัส (Touch Screen) คือ จอภาพแบบสัมผัส ซึ่งเป็นจอภาพแบบพิเศษที่เป็นทั้งอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล และอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล มักนำไปใช้กับธุรกิจร้านค้า โรงแรม สายการบิน พิพิธภัณฑ์ สถานบันเทิงคาราโอเกะ รวมถึงธุรกิจธนาคาร เช่น เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งผู้ใช้งานเพียงแต่นำนิ้วหรือใช้แท่งคล้ายดินสอหรือปากกา แตะ/กดลงบนตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ  

        สแกนเนอร์(Scanner) คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ

 

Untitled Document