Multimedia refers to content that uses a combination of different content forms. This contrasts with media that use only rudimentary computer displays such as text-only or traditional forms of printed or hand-produced material. Multimedia includes a combination of text, audio, still images, animation, video, or interactivity content forms.
[ http://en.wikipedia.org/wiki/Multimedia]  


 มัลติมีเดีย หมายถึง การใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันหรือสื่อผสมเพื่อนำเสนอสารสนเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้สารสนเทศได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย
 สื่อประสม ที่มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอสารสนเทศเป็นหลักได้มีการออกแบบการนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ โดยรวมเอา
 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกันซึ่งจะเน้นส่วนไหนขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นผลผลิตที่เกิดจากการนำเสนอข้อมูลหลากลายรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ
 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย หมายถึง เทคโนโลยีได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างสูงในการพัฒนามัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้นเช่น โปรเซสเซอร์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการประมวลผลทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่และมีความเร็วสูง การ์ดแสดงผลที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง จอภาพที่มีขนาดใหญ่ การ์ดเสียงและลำโพงที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับเครื่องเสียงราคาแพง ๆ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

 7.1 ประเภทมัลติมีเดีย

1. ตัวอักษร (Text) คือ การนำเสนอข้อความเชิงมัลติมีเดีย โดยปกติการเขียนข้อความโดยทั่วไปจะใช้ในกระบวนการติดต่อสื่อสาร โดยเน้นทำให้ผู้อ่านเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการเขียน แต่การสื่อสารด้วยข้อความในเชิงของมัลติมีเดีย นอกจากจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจแล้วยังสามารถสื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก ของผู้นำเสนออีกด้วย

 

 

2. ภาพนิ่ง (Still Image) คือ ภาพที่อาจจะประกอบด้วยภาพวาด ภาพถ่าย ภาพที่เป็นลวดลายเชิงเส้น ซึ่งหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว การนำเสนอเป็นภาพนิ่งทำให้การรับรู้ของผู้ที่มองเห็น สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกได้ลึกซึ้งมากกว่าตัวอักษร โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการสร้างภาพนิ่งเช่น Paint และ Adobe Photoshop เป็นต้น ชนิดของภาพนิ่งแสดงดังต่อไปนี้

 

 

3. ภาพบิตแมป (Bitmap) หมายถึง เส้นตัดกันของบิตในแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงให้เป็นจุดภาพ ภาพในคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสง ซึ่งเรียกว่าจุดภาพ (pixel) รวมตัวกัน ภาพที่มีจำนวนจุดภาพมาก จะยิ่งดูคมชัดมาก ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF

 

 

4. ภาพเวกเตอร์ (Vector) หมายถึง ภาพกราฟิกที่เกิดจากการกำหนดพิกัดและการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติ รวมทั้งมุมและระยะทาง ตามทฤษฎีเวกเตอร์ในทางคณิตศาสตร์ ในการก่อให้เกิดเป็น เส้น หรือรูปภาพ
ข้อดีคือ สามารถย่อขยายได้ โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง ข้อเสียคือภาพไม่เหมือนภาพจริงเป็นได้เพียงภาพวาด หรือใกล้เคียงภาพถ่ายเท่านั้น ข้อมูลภาพพวกนี้ได้แก่ไฟล์สกุล svg, ps, eps, ai (adobe illustrator) และฟอนต์แบบ TrueType ต่างๆเป็นต้น โปรแกรมที่ใช้สร้างข้อมูลภาพประเภทนี้เช่น Adobe Illustrator, Inks cape เป็นต้น  

 

 

5. คลิปอาร์ต (Clipart) หมายถึง ภาพที่ได้รับอนุญาตให้ตัดหรือคัดลอกมาใช้ได้ด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (เช่น ใช้คำสั่ง cut หรือ copy) มีการนำมาเก็บรวบรวมไว้เพื่อใช้ในงานพิมพ์ตั้งโต๊ะ(desktop publishing) หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ ในชุดโปรแกรมสำเร็จที่ชื่อ Microsoft Office จะมี Microsoft clip gallery รวบรวมภาพไว้ให้เลือกมากมาย เพื่อให้คัดลอกไปใช้ในงานพิมพ์ได้ตามที่ต้องการ

 

 

6. รูปเชื่อมโยง (Hyperlink Picture) หมายถึง ภาพชนิดพิเศษที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่น การคลิกเมาส์ (Click) หรือการนำเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)เป็นต้น

 

 

7. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) คือ ภาพที่มีการนำเสนอโดยมีการเคลื่อนไหวของรูปภาพ เป็นเรื่องราวหรือเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และน่าสนใจ บางครั้งมีเสียงประกอบเพื่อสร้างความน่าสนใจของเรื่องราวที่เกิดขึ้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวเช่น Adobe premiere, Flash เป็นต้น

 

 

8. เสียง (Sound) คือ  องค์ประกอบที่น่าสนใจของการสร้างมัลติมีเดีย รูปภาพที่เกิดการเคลื่อนไหวเข้าสู่ระบบการประมวลผลของมนุษย์ทางด้านการมองเห็นผ่านดวงตา ส่วนเสียงเข้าสู่ระบบการประมวลผลของมนุษย์ทางด้านการได้ยินผ่านหู ดังนั้นเสียงจึงเป็นสิ่งที่จะสร้างความสมบูรณ์ของงานทางด้านมัลติมีเดียให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น การนำเข้าเสียงไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี/ดีวีดี เป็นต้น

 

 

9. วีดีโอ (Video) คือ ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงที่สมบูรณ์แล้วได้จากการบันทึก หรือถ่ายทำแล้วมีการจัดเก็บเป็นไฟล์ที่สามารถเปิดโดยระบบคอมพิวเตอร์ ไฟล์วีดีโอที่ดีจะต้องอัตราเร็วต่อเฟรมไม่ต่ำกว่า 30 เฟรมต่อวินาที ดังนั้นการนำเสนอไฟล์วีดีโอเพียง 1 นาทีอาจจะต้องใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บปริมาณมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ จำนวนเนื้อที่ในการจัดเก็บจะต้องใหญ่มาก หรือทำการบีบอัดให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ตัวอย่างเช่น

AVI (Audio Video Interleaved) คือไฟล์ภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งดูผ่านคอมพิวเตอร์ โดยจะสามารถเปิดทั้งภาพและเสียงพร้อมกันได้ทันที โปรแกรมที่ใช้เปิดไฟล์จำพวกนี้ ได้แก่ Windows Media Player, Quick Time เป็นต้น ถือเป็นไฟล์วิดีโอมาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows ) มีความคนชัดของภาพและเสียงสูง จึงทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ ไฟล์ AVI นั้นใช้งานได้หลากหลายตามสถานการณ์ อย่างถ้าตัดต่อวีดีโอมักใช้ต้นฉบับไฟล์ DVD, AVI แต่ถ้าเป็นไฟล์ที่ RIP มาจากแผ่นดีวีดี มักใช้เป็น Xvid AVI เพราะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์ดีวีดีปกติถึงเกือบ 6 เท่า แต่ทว่าคุณภาพลดลง โดยบริษัทไมโครซอฟต์นำเสนอไฟล์ AVI เมื่อเดือน ธันวาคม 1992
 MPEG (Moving Picture Experts Group) คือ ไฟล์ที่มีรูปแบบของการบีบอัดไฟล์สำหรับวีดีโอ ซึ่งไฟล์วีดีโอที่ได้รับการบีบอัดในแบบ MPEG จะมีคุณภาพในการแสดงภาพที่ดีกว่าวีดีโอ โดยไฟล์ในรูปแบบ MPEG จะถอดรหัสโดยใช้ความสามารถของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ การบีบอัดไฟล์แบบ MPEG ได้รับการบีบอัดข้อมูลโดยการเข้ารหัสที่เรียกว่า DCT โดยไฟล์ในแบบ MPEG อาจมีการสูญเสียข้อมูลบางส่วนจากการบีบอัดแต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก การบีบอัดไฟล์ในมาตรฐาน MPEG มี 3 รูปแบบ คือ
   ->> MPEG-1 คือ แบบที่ใช้สำหรับการรับชมภาพยนตร์จากแผ่นซีดี หรือวีดีโอซีดี (VCD) โดยปกติ มีความละเอียดของภาพที่ 352 X 240 ที่ 30 เฟรมต่อวินาที ซึ่งเปรียบได้กับคุณภาพการแสดงผลวีดีโอแบบ VCR video
   ->> MPEG-2 คือ แบบที่มีการบีบอัดไฟล์ที่ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ มีความละเอียดมากขึ้น ภาพที่ออกมามีสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้น เท่ากับ 720 x 480 และ 1280 x 720 ที่ 60 เฟรมต่อวินาที โดยคุณภาพเสียงเทียบเท่ากับซีดี ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับและสามารถเล่นบนหน้าจอโทรทัศน์ในรูปแบบมาตรฐาน NTSC หรือแม้แต่ HDTV ได้   เป็นรูปแบบของวีดีโอในแผ่น DVD ROM โดยสามารถบีบอัดไฟล์วีดีโอความยาว 2 ชั่วโมงได้โดยใช้ขนาดไฟล์ ในการบันทึกเพียง 2 ถึง 3 กิ๊กกะไบท์เท่านั้น และการอ่านค่ารหัสไฟล์ต้องการเทคโนโลยีที่รองรับการเล่นไฟล์วีดีโอในรูปแบบนี้ด้วย ซึ่งไฟล์ต้องใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสที่สูงกว่า MPEG-1
   ->> MPEG-4 คือ แบบที่ทันสมัยโดยใช้หลักการบีบอัดในการเข้ารหัสกราฟิกและวีดีโอ ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก MPEG-1 และ MPEG-2 และเทคโนโลยีของ Apple QuickTime โดยไฟล์ที่ได้รับการบีบอัดในรูปแบบ Wavelet based MPEG-4 จะมีขนาดเล็กกว่า JPEG ซึ่งเป็นผลมาจากการลดขนาดช่วงกว้างของแบนด์วิดท์ เพื่อรวมเอาไฟล์วีดีโอกับข้อความกราฟิกเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รวมเอาแอนิเมชัน 2D และ 3D ไว้ด้วย
MPEG Layer3 คือ การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ประสิทธิภาพมาก โดยที่การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ระดับความถี่ 44.1 Khz สามารถบีบอัดข้อมูลเสียงให้มีขนาดเล็กลงกว่าข้อมูลเสียงต้นแบบมากถึง 12 เท่า โดยที่ไม่มีการสูญเสียคุณภาพของเสียง
MOV คือ ไฟล์ที่บริษัทแอปเปิลพัฒนาเป็นกรรมสิทธิ์ของวีดีโอมาตรฐานการเข้ารหัสข้อมูลและคุณสมบัติการบีบอัด
ภาพยนตร์ดิจิตอลและวิดีโอคลิป ไฟล์สามารถดูได้ด้วยเครื่องเล่นวิดีโอดิจิตอลที่ออกแบบมาสำหรับเครื่อง Mac หรือใช้โปรแกรม QuickTime Player และโปรแกรม VLC Media Player เพื่อแสดงไฟล์ MOV ในทั้งสองระบบคือ Mac และ Windows หรือใช้โปรแกรม Windows Media Player ในระบบปฏิบัติการ Windows

------------------------------------------------------------------------------------------

การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (User Interactive ) คือ การที่มัลติมีเดียมีสิ่งที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งที่นำเสนอได้เช่น ปุ่มกดปุ่มเพื่อเล่น หรือการกดปุ่มเพื่อหยุด รูปภาพที่อยู่ในภายในฉากแต่ละฉาก ไอคอนที่อยู่ภายในเป็นต้น

ระบบมัลติมีเดีย

 

ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ในเชิงมัลติมีเดียประกอบด้วย หน่วยข้อมูลนำเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผลข้อมูล หน่วยจัดเก็บข้อมูล

หน่วยนำเข้าข้อมูล คือ หน่วยที่ทำหน้าที่นำข้อมูลทางด้านมัลติมีเดียเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เช่น กล่องดิจิตอล เครื่องแสกนรูปภาพ ไมโครโฟน  กล่องวีดีโอ และสมาร์ทโฟน เป็นต้น เพื่อนำเอาภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นข้อมูลแบบ ดิจิตอล เท่านั้นถ้าข้อมูลเป็นแบบอนาลอก ข้อมูลนั้นจะต้องทำการแปลงเป็นข้อมูลในแบบดิจิตอลก่อน

หน่วยประมวลผล คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลนำเข้าเพื่อจัดการข้อมูลให้มีความพร้อมที่จะโต้ตอบกับผู้ใช้ในแต่กลุ่มให้มีความเหมาะสม เช่น หน่วยประมวลผลกลางที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้ในการประมวลผลเชิงมัลติมีเดียโดยเฉพาะ การประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์จะใช้โปรแกรมเฉพาะทางเพื่อทำการประมวลผลเพื่อให้ได้มัลติมีเดียที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Adobe Premiere และโปรแกรม Flash เป็นต้น

หน่วยแสดงผลข้อมูล คือ หน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผลให้ผู้ใช้ การแสดงผลทางการเคลื่อนไหวตัวอย่างเช่นจอภาพ เครื่องพิมพ์ เครื่องพล็อตเตอร์  และเครื่องโปรเจคเตอร์ เป็นต้น ส่วนการแสดงผลทางด้านเสียงเช่น ลำโพงเป็นต้น โดยการแสดงผลข้อมูลทางด้านมัลติมีเดียต้องการการ์ดจอที่มีหน่วยความจำสูง เช่น การ์ดจอจีฟอส เป็นต้น ซึ่งเป็นการ์ดจอที่อาจจะซื้อมาภายหลังเป็นแบบการ์ดจอภายนอก

หน่วยจัดเก็บข้อมูล คือ หน่วยที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลก่อนการประมวลผล ขณะประมวลผล และหลังจากประมวลผล โดยหน่วยที่ทำหน้านี้จัดเก็บข้อมูลในส่วนของมัลติมีเดียจะต้องมีขนาดใหญ่และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสค์  ซีดี/ดีวีดี แฟลตไดร์ฟ เป็นต้น