ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software) หรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปในท้องตลาด โดยผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซึ่งซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง แต่ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์ใช้กับงานของตน โดยผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานขึ้นเองภายใต้ซอฟต์แวร์ที่ต้องการ ส่วนราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากและบางซอฟต์แวร์ก็สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี โดยซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปจะนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น
- ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (word processing software)
(ที่มา: http://www.windowsshareware.com/common/img/10042.jpg)
ซอฟต์แวร์ประมวลคำเป็นซอฟต์แวร์ในการนำตัวอักษรมาเรียงต่อเป็นคำ ประโยคหรือย่อหน้า คล้ายการใช้เครื่องพิมพ์ดีดพิมพ์ข้อความบนกระดาษ แต่ต่างกันที่ตัวอักษรที่พิมพ์หรือป้อนเข้าทางแป้นพิมพ์อักขระ(Keyboard) จะเข้าไปเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแก้ไขดัดแปลงได้ง่าย ภายใต้ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ผู้ใช้สามารถกำหนดปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ เช่น การกำหนดเส้นกั้นหน้าและกั้นหลัง กั้นบนและกั้นล่าง เมื่อมีการแก้ไขจนเสร็จ สามารถสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ได้หลายชุดตาม ความต้องการของผู้ใช้งานได้ ซึ่งเอกสารที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ จะมีคุณภาพดีไม่มีรอยเปื้อนจากการแก้ไขดัดแปลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word)
- ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
(ที่มา: http://www.blogmygeek.com/2013/05/how-to-create-line-graph-with-microsoft.html)
ซอฟต์แวร์ตารางทำงานเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางนั้นจะมีช่องว่างให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตรทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด โดยผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง อีกทั้งยังสามารถสร้างแผนภูมิ กราฟต่างๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟวงกลม เป็นต้น ตามข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการนำเสนอ ซึ่งซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล (Microsoft Excel) โลตัส เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)
(ที่มา: http://www.9experttraining.com/microsoft-access-advanced-course)
เป็นซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอฟต์แวร์จะจัดการข้อมูล โดยการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกว่าฐานข้อมูล (Database) ซึ่งฐานข้อมูลจะประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูล สำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลในรูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ เพราะฉะนั้นซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล จึงช่วยในการเก็บ การเรียกค้นหาข้อมูลมาใช้งาน และสามารถทำรายงาน สรุปผลจากข้อมูล เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซส (Microsoft Access) ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)
(ที่มา: http://www.sarasontat.com/lesson3/unit1/u1_3.html)
ซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับ การนำเสนอข้อมูลได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่สื่อความได้ง่าย ด้วยเครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ใช้งาน ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์โดยประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและอื่นๆ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ทั้งซอฟต์แวร์ชุดปลาดาวหรือซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์นั้นมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดปลาดาวสามารถเปิดแฟ้มที่สร้างจากไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์มาแก้ไขได้ ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ วาดภาพโดยใช้เครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft Powerpoint) โลตัสฟรีแลนซ์ และ ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
(ที่มา: http://images.thaiza.com/16/16_20080905105558.jpg)
ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการด้านกราฟิก เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ช่วยในการวาดรูป เช่น ปากกาช่วยวาดลายเส้น พู่กันระบายสี และยางลบช่วยลบลายเส้นหรือสีที่ไม่ต้องการได้ นอกจากนี้สามารถนำแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลมาแก้ไขตกแต่งได้ โดยซอฟต์แวร์จะมีเครื่องมือที่สามารถปรับเปลี่ยนความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ นอกจากนี้สามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลายๆ ภาพมาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือนการสร้างศิลปะ และสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่างๆ ได้ ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกที่เป็นที่นิยม เช่น ไมโครซอฟท์โฟโต้ชอป (Photoshop) โปรแกรมเพนท์บรัช (Paint Brush) เพนท์ชอป (Paint Shop) เป็นต้น โดยข้อดีของซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกบางโปรแกรม สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้าสแกนเนอร์ เพื่อจัดการนำเข้าข้อมูล โดยแปลงข้อมูลรูปภาพให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป