9.3 องค์ประกอบ

E-Commerce

 

1. ร้านค้า (MERCHANT) คือ ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page ของตนเอง เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร โดยร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคาร
-สินค้า (Product) คือ สิ่งที่เราจะขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต มีหลายแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้, สินค้าที่เป็น Content, สินค้าที่เป็นลักษณะการบริการ
- เว็บไซต์ (Website) คือ พื้นที่ที่จะจัดแสดงสินค้า หรือ หน้าร้านนั่งเอง ในส่วนของการทำอีคอมเมิร์ซ หน้าร้านหรือเว็บไซต์มีความสำคัญมาก เพราะเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดความน่าสนใจในตัวสินค้า/บริการ       
- ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) คือ ระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซด์ได้ ซึ่งจะมีช่องให้กรอกจำนวนสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้เหมือนรถเข็น และสะสมไว้จนกว่าจะพอใจแล้วจึงชำระค่าสินค้าผ่านแคชเชียร์อัตโนมัติ


2. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promote/Advertising) คือ การทำให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ยอมรับสินค้าและตัดสินใจซื้อสิ้นค้า
- การโฆษณา (Advertising)   เป็นการกระทำการใดๆ อันเป็นการชักจูงใจต่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ      โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาศัยสื่อมวลชน (Mass media)     ในการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและมิได้เป็นไปในรูปส่วนตัว
- การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็นการติดต่อสื่อสารจากองค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อถือ
ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


3. ลูกค้า (Customer) คือ ผู้ซึ่งซื้อสินค้า และ จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการของเรา
- ผู้บริโภค (Consumer) คือ ผู้ใช้สินค้าหรือบริการ แต่อาจจะไม่ได้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการ ตัวอย่าง เช่น หญิงซื้อยาสระผมให้น้องสาว ลูกค้า คือ หญิง ผู้บริโภค คือ น้องสาว


4. ระบบการชำระเงินที่ปลอดภัย (Secure Payment System) คือ เป็นระบบคำนวณเงินและชำระค่าสินค้าที่ปลอดภัยโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านทางบัตรเครดิต ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันสามารถรับเงินผ่านทางเว็บด้วยบัตร Visa, AMEX, Master, SCB, และJCB ได้แล้ว  การถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตบนเครือข่ายจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ระบบที่ใช้กันคือ SSL (Secure Socket Layers) ข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเช็คได้ว่าผู้ถือบัตรใช่ตัวจริงหรือไม่และระบบนี้ยังบอกได้แค่เพียงว่าร้านนี้คือใคร? ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาคือ SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งจะมีการระบุว่าเป็นตัวจริงทั้งสองฝ่าย ข้อเสียคือ การใช้ระบบนี้จะต้องมีการลงทุนที่สูงมากจึงทำให้ไม่แพร่หลาย
- Bank ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจ สอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internet ผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของ ร้านค้า สมาชิก


5. การขนส่ง (Logistic) ระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นต่างๆ ทุกอย่างที่มีการขนส่ง หรือเคลื่อนย้ายจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เป็นการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ เพื่อให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด


6. ผู้ดูแล คือ บุคคลสำคัญที่จะช่วยบริหารจัดการร้านค้าให้ประสบความสำเร็จ เพราะทำหน้าที่ดูแลจัดการอัพเดทสินค้า เนื้อหาในร้าน ดูแลการจัดส่งสินค้า การตอบอีเมล์ลูกค้าด้วย หากเป็นกิจการเล็กๆ ในส่วนนี้ อาจจะเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการเอง


7. หน่วยประมวลผลการชำระค่าสินค้า (TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER) คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทำการประมวลผลการชำระค่าสินค้า หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดยสามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร
- องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสาร (INTERNET SERVICE PROVIDER) คือ หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า โดยรับและจดทะเบียน Domain Name หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Page มาฝากเพื่อขายสินค้า ตัวอย่างเช่น บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน), บริษัทแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด,บริษัท สามารถอินโฟเนต จำกัด, บริษัท เอเน็ต จำกัด ,บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัดเป็นต้น
- โดเมนเนม (Domain Name) คือ การจดทะเบียนชื่อร้านค้าผ่านทางระบบ Internet เพื่อทำให้ง่ายต่อการจดจำดังนั้น โดเมนเนมจึงไม่สามารถซ้ำกันได้ในระบบอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น www.ebay.com, www.thaiselect.com เป็นต้น
- ธนาคาร (Bank) คือ ธนาคารที่ให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่าน internet ตัวอย่างเช่น thaiepay.com เริ่มต้น 295 บาทต่อเดือน และ 4% จากยอดรายได้, paysbuy.com ไม่มีค่าธรรมเนียมต่อเดือน, taradpay.com เริ่มต้น 300 บาทต่อเดือน, siampay.com (egold, WIRE และ ATM) และ escrow.com เป็นต้น
- บัตรเครดิต (Credit Card) คือ บัตรที่ผู้ใช้บัตรได้รับอนุมัติวงเงินจากธนาคารเจ้าของบัตรให้สามารถใช้เงินเพื่อซื้อหาสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ที่เป็นสมาชิกกับธนาคาร ตัวอย่าง เช่น VISA MasterCard JCB และ AMEX เป็นต้น เพื่อเป็นช่องทางในการรับชำระเงินจากการซื้อขายผ่าน e-Commerce โดยธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตจะออกเงินล่วงหน้าแก่ผู้ซื้อ ดังนั้นถ้าผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า สามารถปฏิเสธการจ่ายเงินได้เมื่อถึงรอบบัญชีเรียกเก็บ และร้านค้าสามารถโต้แย้งข้อพิพาทต่อรายการค้าที่มีปัญหาได้ 6 เดือน และสามารถติดตามตรวจสอบรายการซื้อขายว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่
ขั้นตอนการทำงาน

  1. ผู้ขายทำการสร้าง Website และทำการเช่าพื้นที่จากผู้ให้บริการพื้นที่เว็บ ( Web hosting)
  2. ทำการจดทะเบียน Domain Name หรือชื่อร้านค้าผ่าน ISP เพื่อทำให้ทุกคนทั่วโลกมองเห็นชื่อร้านค้า
  3. ขายสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet 
  4. ลูกค้า (Customer) เชื่อมต่อ Internet โดยผ่าน ISP
  5. ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
  6. ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
  7. ลูกค้าซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต (Payment)
  8. ผู้ให้บริการเชื่อมโยงการชำระเงินระหว่างข้อมูลบัตรเครดิตผู้ซื้อจากธนาคาร (Bank) ผ่านหน่วยประมวลผลการชำระค่าสินค้า
  9. ธนาคารตรวจสอบวงเงิน และตัดวงเงินของผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีเงินฝากของร้านค้า

 

อีคอมเมิร์ซแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products) เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต 
  2. สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)   เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์