10.6 สรุปรายละเอียด พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ
         
          6.1 ผู้ให้บริการ
                   ผู้ให้บริการที่เปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้บริการและสามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือสามารถเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง จะต้องมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดใน พรบ. ความหมายของผู้ให้บริการ
                   “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                   (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไมว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนาม หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                   (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคล
                   ตัวอย่างผู้ให้บริการ
                   - ผู้ให้บริการ Internet Service Provider ทั่วไปเช่น TRUE, AIS, TOT เป็นต้น
                   - ผู้ให้บริการที่เป็น ผู้ดูแลเว็บไซต์ เจ้าของเว็บไซต์ เจ้าของเว็บบอร์ด เป็นต้น
                   - ผู้ให้บริการที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร เช่น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
                    เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

          6.2 หน้าที่ของผู้ให้บริการตามข้อกำหนดใน พรบ.
"มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะ คราวก็ได้   
- ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่ น้อยกว่าเก้าสิบวันนับ ตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
- ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท"

          6.3 การกําหนดบทลงโทษผู้ให้บริการ
มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา 14ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเชนเดียวกับผู้กระทําความผิดตามมาตรา  14               เหตุผล ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึงเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งมีการพิจารณาว่าควรต้องมีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย

          6.4 การเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
วัตถุประสงค์ ออกภายใต้ มาตรา 26 วรรค 3 ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานสำคัญต่อการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ประเภทผู้ให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
(1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกัน โดยประการอื่น แบ่งออกเป็น
ก. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (Telecommunication Carrier)
ข. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access ServiceProvider)                           

ค. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
(Host Service Provider)
(2) ผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคล ตาม (1) ข้างต้น เช่น ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ (Content Service Provider)
ข้อมูลที่ต้องเก็บ - ข้อมูลจราจรที่สามารถระบุผู้ใชบริการเป็นรายบุคคลได้
รูปแบบการเก็บ - ต้องเก็บในสื่อที่รักษา Integrity/Confidentiality/identification

                   บทเฉพาะกาล    - เริ่มเก็บ 30 วัน/90 วัน/1 ปี นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา