6.5การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ
          การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะเป็นการนำผลจากการออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิดมาทำการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบฐานข้อมูลที่เลือกใช้ผลที่ได้จะเป็นเค้าร่างของฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สามารถนำไปกำหนดภาษาสำหรับนิยามข้อมูลในขั้นตอนการออกแบบในระดับกายภาพได้ ขั้นตอนนี้
          จึงเป็นการแปลงผลจากการออกแบบในระดับแนวคิด (Mapping) ให้อยู่ในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูลที่เลือกใช้ เช่น รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management Systems :RDBMS) ในขั้นตอนนี้เป็นการแปลงเค้าร่างในระดับแนวคิดให้เป็นรีเลชั่นที่ประกอบด้วยแอททริบิวต์รวมถึงการระบุข้อกำหนดต่างๆ ให้กับรีเลชั่น เช่น คีย์หลัก คีย์นอก โดเมนของแอททริบิวต์ และมีการใช้แนวคิดเรื่องการจัดระบบข้อมูลในรูปแบบบรรทัดฐาน (Normalization) เข้ามาช่วยในการออกแบบเพื่อปรับการออกแบบฐานข้อมูลที่เหมาะสมปัจจัยที่ใช้ประกอบการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลมีมากมายไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเทคนิค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นๆ ให้ความสำคัญของปัจจัยใดมากกว่ากัน