สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี
ปรัชญา
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย คือ “จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างปัญญาในรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่บูรณาการกับการทำงานตามอมตะโอวาท งานหนักไม่เคยฆ่าคน มุ่งให้ผู้เรียน มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถพัฒนาทักษะเดิม สร้างเสริมทักษะใหม่ มีวิธีคิดของการเป็นผู้ประกอบการ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร มีความตระหนักต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ยึดมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ตามจุดยืนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ว่า มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” (ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ความเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 ตามรายละเอียดหนังสือที่ อว 68.1.1.2/ว142 ลงวันที่ 11 กันยายน 2563)
ปณิธาน
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ยึดถือปณิธานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามที่คณะวิทยาศาสตร์กำหนดคือ “จะผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่กอปรด้วย วิทยา จริยา และปัญญาด้านวิทยาศาสตร์อันสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและประเทศชาติ ส่งเสริมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ”
วิสัยทัศน์
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “มุ่งเน้นพัฒนาให้ภาควิชาเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางวิชาการเรียนรู้ งานวิจัย ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ระดับประเทศและนานาชาติ พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาและสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมถึงยึดมั่นในคุณธรรม” ขณะเดียวกันภาควิชายังยึดถือและปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ของ คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้
พันธกิจ
จัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานและผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโดยคำนึงถึงความรู้และการประยุกต์ใช้ผสมผสานให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ เพื่อเผยแพร่และบริการความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ชุมชนส่งเสริมและเข้าร่วมในกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามประเพณี
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและสอดคล้องกับแผนพัฒนา การศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ภาควิชาฯ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ นำไปประกอบอาชีพอิสระหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ป้อนสู่ตลาดแรงงานระดับชุมชนหรือระดับประเทศอย่างสร้างสรรค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ประวัติ
ประวัติสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ ม.แม่โจ้
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ได้ดำเนินการเปิดสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา2536 เป็นสาขาวิชาแรกของคณะวิทยาศาสตร์ที่เริ่มจัดตั้งมาพร้อมกับคณะวิทยาศาสตร์
โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้
ปีการศึกษา 2536 หมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะธุรกิจการเกษตร
ได้แยกตัวออกมาเพื่อจัดตั้งเป็นคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นภาควิชาหนึ่งที่สังกัดในคณะวิทยาศาสตร์
ในระยะเริ่มแรกได้บริหารจัดการโดย หัวหน้าภาควิชาคนแรก
(รองศาสตราจารย์จรัส กาใหญ่) ต่อมาได้ขยายจำนวนรับคณาจารย์มากขึ้นตามลำดับ โดยมีภาระงานสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
ซึ่งเป็นรายวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาในหลายสาขาวิชา นอกจากนั้นยังเปิดสอนรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิค
และรายวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อเป็นวิชาเลือกให้กับนักศึกษาที่สนใจเรียนรายวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นวิชาเลือกเสรีอีกด้วย
ขณะนั้นใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น 386 จำนวน 30 เครื่อง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน โดยสำนักงานของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่อาคารเรียนรวมทางวิทยาศาสตร์
(หลังเก่า) 2ชั้น
ปีการศึกษา 2538 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ขึ้น
เป็นสาขาวิชาแรกในคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีนักศึกษาเข้าศึกษาเป็นรุ่นแรกจำนวน 38 คน พร้อมกับได้รับงบประมาณจัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์รุ่น486 เพิ่มอีกจำนวน 30 เครื่อง ต่อจากนั้นในแต่ละปีการศึกษาก็รับนักศึกษาเข้าใหม่อีกปีละประมาณ 50 คน
ปีการศึกษา 2543 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีจำนวนนักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปีประมาณ 200 คน และมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจบตามหลักสูตร ออกไปรับใช้ประเทศชาติแล้วจำนวน 2 รุ่น ประมาณ
65 คน ขณะนั้นภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคารเรียนรวมทางวิทยาศาสตร์
(หลังใหม่) ชั้นที่ 6 โดยมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอื่น
ๆ เพิ่มอีกจำนวน 2 ห้องปฏิบัติการ โดยติดตั้งระบบ LAN ที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
Pentium III 500 MHz ใช้ระบบปฏิบัติการ WINDOWS 98 จำนวน 50 เครื่อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
จำนวน 2 ห้อง โดยติดตั้งระบบ LAN ที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
Pentium III
500 MHz ระบบปฏิบัติการ WINDOWS NT จำนวน 100 เครื่อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบ UNIX สำหรับงานวิจัยของคณาจารย์และงานสำหรับทำโครงงาน
คอมพิวเตอร์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 4 ประกอบด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ SUN จำนวน 5 เครื่อง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Silicon Graphic จำนวน
2 เครื่อง และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Pentium III
500 MHz จำนวน 3 เครื่อง
ปีการศึกษา 2545 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาที่
2 คือ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สังกัดภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีนักศึกษาภาคปกติ จำนวนประมาณ 55 คนและภาคสมทบ จำนวนประมาณ 90 คน
ปีการศึกษา 2547 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เพิ่มจำนวนห้องเรียนปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
จำนวน 1 ห้องเรียน และห้องบรรยายคอมพิวเตอร์จำนวน 1 ห้องเรียน สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตั้งอยู่ที่อาคารเรียนรวมทางวิทยาศาสตร์
(หลังเก่า) 2 ชั้น และจัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Intel
รุ่น Pentium 4 ความเร็วขนาด 3.0 GHz จำนวน 20 เครื่อง
ปีการศึกษา 2549 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ รับอาจารย์มาเพิ่มจำนวน 2 คน และมีอาจารย์ที่ได้รับทุนการศึกษากลับมาปฏิบัติงานจำนวน 2 คน เพื่อรองรับรายวิชาของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีจำนวนรายวิชาเพิ่มมากขึ้น
ปีการศึกษา 2550 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีจำนวนนักศึกษาทั้ง 2 สาขาวิชา
รวมทั้งหมด (ภาคปกติและภาคสมทบ) ประมาณ 433 คน คณาจารย์ 18
คน (รวมทั้งนักเรียนทุนโท-เอกและอาจารย์
ลาศึกษาต่อ)
ปีการศึกษา 2551 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ยกเลิกภาควิชาเปลี่ยนแปลงเป็น สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
แยกตัวออกจากสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปีการศึกษา 2554 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 1 อัตรา
ปีการศึกษา 2555
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใหม่เพิ่มอีก จำนวน 1 ห้อง คือ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3203 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์
โดยได้จัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Intel รุ่น Core
I7 จำนวน 46 เครื่อง และมีห้องสำหรับวิจัยทางคอมพิวเตอร์
คือ ห้อง 3204 ชั้น 2 อาคารจุฬาภรณ์
และได้มีการบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งอาจารย์ระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน
สาขาวิชาได้มีโลโก้ของสาขาวิชาฯ
โดยเป็นผลงานการออกแบบของนักศึกษาและทางสาขาวิชาฯได้ปรับปรุงสีให้เหมาะสมโดยใช้สีฟ้าเข้มเป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชาฯ
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีจำนวนนักศึกษาที่กำลังศึกษา
รวมทั้งหมดประมาณ
472 คน คณาจารย์ 14 คน (รวมทั้งนักเรียนทุนโท-เอกและอาจารย์ลาศึกษาต่อ)